ความหมายของอาชีพ
อาชีพ คือการทำมาหากินของมนุษย์ เป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของคนในสังคม และทำให้ดำรงอาชีพในสังคมได้ บุคคลที่ประกอบอาชีพจะได้ค่าตอบแทน
หรือรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิต
และสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ
ความจำเป็นของการประกอบอาชีพมีดังนี้
1. เพื่อตนเอง
การประกอบอาชีพทำให้มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอยในชีวิต
2. เพื่อครอบครัว
ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้รับการเลี้ยงดูทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. เพื่อชุมชน ถ้าสมาชิกในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้ดีจะส่งผลให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
อยู่ดีกินดี ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้
4. เพื่อประเทศชาติ
เพื่อประชากรของประเทศมีการประกอบอาชีพที่ดี มีรายได้ดี
ทำให้มีรายได้ที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลมีรายได้ไปใช้บริหารประเทศต่อไป
มนุษย์ไม่สามารถผลิตสิ่งต่างๆมาสนองความต้องการของตนเองได้ทุกอย่างจำต้องมีการแบ่งกันทำและเกิดความชำนาญ
จึงทำให้เกิดการแบ่งงานและแบ่งอาชีพต่างๆขึ้น สาเหตุที่ต้องมีการแบ่งอาชีพมีดังนี้
1.ความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน
2.
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
3. ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน
การแบ่งงานและอาชีพให้เกิดประโยชน์
ดังนี้
1. สามารถตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันได้
2. ได้ทำงานที่ตนเองถนัด
3. ทำให้กิดการขยายตัวของธุรกิจในด้านต่างๆ
การประกอบอาชีพของคนไทย
การทำมาหากินของคนไทยสมัยก่อน คือการทำไร่
ทำนา ทอผ้า ทำเครื่องจักสานไว้ใช้ที่เหลือก็จะจำหน่ายในชุมชน
คนไทยบางกลุ่มจะเป็นข้าราชการเมื่อบริษัทต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย
ทำให้มีการจ้างงาน และมีอาชีพให้คนไทยเลือกทำมากขึ้น
ลักษณะอาชีพของคนไทย
1. งานเกษตรกรรม เช่น ปลูกพืช
เลี้ยงสัตว์ การประมง
2. งานอุตสาหกรรม
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความถนัดด้านช่างสาขาต่างๆ
และเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ
3. งานธุรกิจ เป็นงานด้านการค้าขาย การทำบัญชี การจัดการธุรกิจ การติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ4. งานคหกรรม
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เย็บปักถักร้อย ตกแต่งบ้าน
5. งานศิลปกรรม
เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมของไทย เช่น
งานหัตถกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในงานอาชีพ
1. ความต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for
Achivement) ในการทำงานเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วและมองเห็นโอกาสแห่งความเป็นไปได้ ผู้ประกอบการจะต้องมุ่งมั่นใช้กำลังกาย
กำลังความคิด สติปัญญาและความสามารถทั้งหมด
พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาให้กับงาน
โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก
เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จที่มุ่งหวังไว้
ผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่ผ่านมาเพื่อแก้ไขให้เกิดความสำเร็จ พอใจ
ภูมิใจที่งานออกมาดี
แต่สิ่งที่สำคัญคือ จุดมุ่งหมายทางธุรกิจ มิได้อยู่ที่กำไร
แต่จะต้องทำเพื่อขยายความเจริญเติบโตของกิจการ กำไรเป็นเครื่องสะท้อนว่าทำได้ และไม่เพียงสนใจต่อการบรรลุเป้าหมายเท่านั้น
แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อวิธีการหรือกระบวนที่ทำให้บรรลุเป้าหมายด้วย
2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity Thinking) การจะเป็นผู้สำเร็จในงานอาชีพได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ไม้พอใจในการทำสิ่งซ้ำๆเหมือนเดิมตลอดเวลา
แต่เป็นผู้ที่ชอบนำประสบการณ์ที่ผ่านมาประยุกต์ สร้างสรรค์
หาวิธีใหม่ที่ดีกว่าเดิม สามารถหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการอยู่ตลอดเวลา
กล้าที่จะผลิตสินค้าที่แตกต่างจากเดิม กล้าใช้วิธีขายที่ไม่เหมือนใคร กล้าประดิษฐ์
กล้าคิดค้นสิ่งที่แปลกใหม่เข้าสู่ตลาด
สามารถคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ
มาใช้ในการผลิต
สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้
รวมทั้งแสวงหาวัตถุดิบใหม่ๆมาทดแทนของเดิม
รู้จักปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน
นำระบบการจัดการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดต้นทุน ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง
หรือเอาแนวคิดมาจากนักประดิษฐ์ นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญก็ได้
3. รู้จักผูกพันต่อเป้าหมาย (Addicted to
Goals) เมื่อตั้งเป้าหมาย ผู้ประกอบการจะต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
เป้าหมายทุกเป้าหมายล้วนจะต้องเอาชนะทั้งสิ้น มีความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ จนสามารถวางแผนกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค
ขัดขวางในการไปสู่เป้าหมาย
เตรียมป้องกันที่จะเอาชนะอุปสรรค
ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความล้มเหลว
และหาหนทางแก้ไขเมื่อประสบความเหลว
และในขณะเดียวกันการมองโลกในแง่ดีมีความหวัง
มุ่งมั่นต่อไปเป้าหมายของความสำเร็จจะมองเห็นในอนาคต
4.
มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็นผู้นำที่ดี (Management and
Leadership Capability) มีลักษณะการเป็นผู้นำ รู้จักหลักการบริหารจัดการที่ดี
ภาวะการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเจริญเติบโตของธุรกิจ ในระยะเริ่มทำธุรกิจ จะต้องรับบทบาทการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเติบโตของธุรกิจ ในระยะเริ่มทำธุรกิจ
จะต้องรับบทบาทเป็นผู้นำที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเอง ต้องทำงานหนักเพื่อบรรลุความสำเร็จ เอาใจใส่ผู้ร่วมงาน วางแผนทางการทำงาน
ให้คำแนะนำและให้ผู้ร่วมงานรับค่าสิ่งด้วยความเต็มใจในการปฏิบัติงาน
เป็นผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี ต่อมาเมื่อกิจการเติบโตขึ้น การบริหารงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป
ลูกน้องก็จะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นได้มากขึ้น ไว้ใจได้
สามารถที่จะแบ่งความรับผิดชอบให้ลูกน้องได้มากขึ้น จนสามารถปล่อยให้ดำเนินการเองได้
ส่วนตนจะได้มีเวลาใช้ความคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายกิจการหรือลงทุนใหม่
ดำเนินกิจการให้ลักษณะมืออาชีพมากกว่าเป็นธุรกิจเครือญาติ กล้าลงทุนจ้างผู้บริหารมืออาชีพ รู้จักปรับเปลี่ยนการบริหาร เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
5. มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Be Self
Confident) ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จมักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง มีความเป็นอิสระและรู้จักพึ่งตนเอง มีความมั่นใจ
มีความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว
มีลักษณะเป็นผู้นำ มีความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัว มีความทะเยอทะยาน
และไม่ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไปหรือเชื่อมั่นตนเองมากเกินไป
6. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Visionary) เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
และรู้จักเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
7. มีความรับผิดชอบ (Responsibility) มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำเป็นอย่างดี
เป็นผู้นำในการทำสิ่งต่างๆ มักจะมีความริเริ่มแล้วลงมือทำด้วยตนเอง
หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำและจะดูแลจนงานสำเร็จตามเป้าหมาย
โดยจะรับผิดชอบผลการตัดสินใจ ไม่ว่าผลจะออกมาดีหรือไม่
มีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากความเอาใจใส่
ความพยายาม ความรับผิดชอบ มิใช่เกิดจากโชคช่วย
8. มีความกระตือรือร้นและไม่หยุดนิ่ง (Enthusiastic) มีการทำงานที่เต็มไปด้วยพลัง มีชีวิตชีวา
มีความกระตือรือร้น
ทำงานทุกอย่างโดยไม่หลีกเลี่ยง
ทำงานหนักมากกว่าคนทั่วไป
9. ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม (Take New
Knowledge) ถึงแม้ว่าจะมีความเชี่ยวชาญในการทำงาน
แต่ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ
ควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับข้อมูลทางการตลาด เศรษฐศาสตร์
การเมือง
กฏหมายทั้งในและต่างประเทศ
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
การหาความรู้เพิ่มเติมสามารถหาได้จากการสัมนา ฝึกอบรม
อ่านหนังสือ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
10. กล้าตัดสินใจและมีความมานะพยายาม (Can
Make Decision And Be Attempt) มีความกล้าตัดสินใจมีความหนักแน่นไม่หวั่นไหว เชื่อมั่นในตนเองกับงานที่ทำ มีจิตใจของนักสู้ ถึงแม้งานจะหนักก็ทุ่มเทสุดความสามารถ ไม่กลัวงานหนัก เห็นงานหนักเป็นงานท้าทายในการใช้ความรู้ สติปัญญา และความสามรถในการทำงาน
ความมานะและความพยายามเป้นการทุ่มเทชีวิตจิตใจในการทำงาน
แข่งขันกับตนเองและแข่งขันกับเวลา
ขวนขวายหาหนทางแก้ปัญหาและอุปสรรคจนประสบความสำเร็จ
11. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม (Adaptable) ต้องรู้จักการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม มากกว่าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรม
หรือขึ้นอยู่กับโชคหรือดวง
12. รู้จักประมาณตนเอง (Self Assessment) การรู้จักประมาณตนเองไม่ทำสิ่งเกินตัว
ในการทำธุรกิจควรจะเริ่มจากธุรกิจเล็กๆก่อน
และเมื่อกิจการเจริญค่อยเพิ่มทุนและขยายธุรกิจออกไป จึงจะประสบความสำเร็จ
13. ประหยัด (Safe For Future) การดำเนินงานในระยะสั้นจะยังไม่ทันเห็นผล
ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักประหยัดและอดออม
ต้องรู้จักห้ามใจที่จะหาความสุข
ความสบายในช่วงที่ธุรกิจอยู่ในช่วงตั้งตัว
และต้องดำเนินธุรกิจต่อไปในระยะเวลายาวนานจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
14. มีความซื่อสัตย์ (Loyalty) ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและหุ้นส่วน ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารด้วยการเป็นลูกหนี้ที่ดี
เป็นนายที่ดีของลูกน้อง และต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและครอบครัว
อาชีพที่มีความมั่นคงในชีวิต
หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา ก็คือ
พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4
อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ในการเลือกประกอบอาชีพนั้น
ควรพิจารณาจากความถนัด ความสนใจ ความก้าวหน้าในอาชีพ
เป็นอาชีพที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมาย และควรเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข
ได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอกับการดำเนินชีวิต และเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ
หากทุกคนเลือกอาชีพที่มความมั่นคงต่อชีวิต สังคมก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดี
เศรษฐกิจก็จะเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
อาชีพที่มีส่วนร่วม และพัฒนาประเทศ
ความหมายของอาชีพ
อาชีพ หมายถึง
การทำมาหากิน ทำธุรกิจ
ตามความชอบหรือความถนัด
ได้ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือ เงินเดือน ประชาชนในประเทศที่สามารถมีอาชีพเป็นหลักถือได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาประเทศได้
อาชีพที่มีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ
สามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภท คือ
1. อาชีพเกษตรกรรม (Agriculture) เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน
ได้แก่ การทำสวน การทำนา ทำไร่ การประมง การเลี้ยงสัตว์ และการป่าไม้
2. อาชีพเหมืองแร่ (Mineral) เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม
การขุดเจาะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติต่างๆมาใช้ เช่น ถ่านหิน ดีบุก
น้ำมัน และปูนซีเมนต์ ฯลฯ
3. อาชีพอุตสาหกรรม (Manufacturing) เป็นการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิตและบริการทั่วๆไปทั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดใหญ่
แบ่งได้ดังนี้
3.1 อุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือ
อุตสาหกรรมขนาดย่อม
เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ใช้แรงงานสมาชิกในครอบครัว วัสดุที่ใช้ผลิตหาได้ในท้องถิ่น
ผลิตัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. อาชีพก่อสร้าง (Construction) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างอาคาร
ที่อยู่อาศัย ถนน สะพาน เขื่อน ฯลฯ
5. อาชีพการพาณิชย์ (Commercial) เป็นการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวช้องกับการตลาด
การจำหน่ายสินค้าปลีก และสินค้าส่ง
6. อาชีพการเงิน (Financial) การดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ธุรกิจต่างๆคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
ให้ความช่วยเหลือและการลงทุน ได้แก่
ธนาคารต่างๆ
7. อาชีพบริการ (Services) เป็นการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ในการอำนวยความสะดวกสบาย เป็นการขนส่ง
การสื่อสาร การโรงแรม การท่องเที่ยว
โรงพยาบาล โรงภาพยนต์ ภัตตาคาร
ร้านอาหาร สถานบันเทิงต่างๆ ฯลฯ
8. อาชีพอื่นๆ
เป็นอาชีพที่นอกเหนือจากอาชีพดังกล่าวข้างต้น
ได้แก่ อาชีพอิสระต่างๆ เช่น แพทย์ ครู
เภสัช วิศวกร สถาปนิก
จิตรกร ประติมากร เป็นต้น
อาชีพธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ
อาชีพธุรกิจที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน
สังคม และประเทศชาติ ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าการบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ความต้องการเกิดขึ้นต่อๆไป
โดยไม่สิ้นสุดทำให้เกิดการผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการจึงเกิดการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค
เรียกว่าระบบคนกลาง ระบบคนกลางได้แก่ พ่อค้าส่ง
พ่อค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย นายหน้า
เมื่อมีสินค้าเกี่ยวข้องจึงต้องมีระบบขนส่งและเกิดการจ้างงาน ช่วยให้ประชาชนมีงานทำ มีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น สร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยประชาชนช่วยกันเสียภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ
การที่ประชาชนมีอาชีพ
และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจำนวนมากจึงต้องมีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้
ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
สามารถรู้เกี่ยวกับผลอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์
เทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาด้านบุคลากรของอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆของประเทศไทย
นับว่าอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งการผลิต ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยางและอื่นๆ
ซึ่งแม่พิมพ์ที่นำมาใช้ในการจึงมีหลายประเภท เช่น แม่พิมพ์โลหะ แม่พิมพ์พลาสติก
แม่พิมพ์ยาง แม่พิมพ์แก้ว และอื่นๆ แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ แม่พิมพ์โลหะ
และแม่พิมพ์พลาสติก โดยนำไปใช้เกือบทุกอุตสาหกรรม
เพราะแม่พิมพ์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการผลิตที่มีรูปร่างเหมือนๆกัน
ครั้งละจำนวนมากๆ ส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน
ทำให้ไทยมีโรงงานที่ทำแม่พิมพ์ทั้งหมด 2,000 โรงงาน โดยผลิตแม่พิมพ์โลหะและพลาสติก
ถึงร้อยละ 90 และอีก้อยละ 10 ผลิตแม่พิมพ์แก้ว ยาง และเซรามิก โดย 1,500 โรงงาน
เป็นโรงงานที่ผลิตแม่พิมพ์ใช้เอง และอีก 500 โรงงาน รับจ้างผลิตแม่พิมพ์
แต่มีโรงงานเพียง 3 % ที่สามารถผลิตแม่พิมพ์ที่ได้คุณภาพ และมีประสิทธิภาพ
ความเที่ยงตรงสูง แสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ในประเทศไทย
ยังไม่สามารถผลิตงานที่มีคุณภาพ และความถูกต้องแม่นยำสูงได้
จากสถิติมูลค่าการนำเข้าและส่งออกแม่พิมพ์
(ระหว่างปี พ.ศ. 2542 - 2547)
พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้าในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์มาโดยตลอด โดยในปี ปี 2544
มีการขาดดุลการค้ามากกว่า 20,000 ล้านบาท
และมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์ของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ยกเว้น ปี
2545 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 7.69 เมื่อเทียบกับปี 2544
ส่วนมูลค่าการนำเข้าในปี 2547 คาดว่ามีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้น
โดยในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน มีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันในปี 2546 ถึงร้อยละ 33.57 เหตุที่ประเทศไทยมีมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์มาก
เนื่องจากโรงงานที่เป็นกิจการร่วมทุนกับต่างประเทศ
และกลุ่มตลาดส่วนใหญ่เป็นต่างประเทศ
ให้มีการนำเข้าแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพและความเที่ยงตรงสูง
จากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น
ไต้หวัน และเกาหลีใต้
ส่วนการส่งออกแม่พิมพ์ของไทยนั้น
เป็นกลุ่มผู้ผลิตที่มีกิจการร่วมลงทุนกับต่างประเทศ
และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI (สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)
โดยผลิตแม่พิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงสูง และส่งออกไปบริษัทแม่ ส่วนโรงงานขนาดกลางที่ผลิตแม่พิมพ์ที่มีคุณภาพก็ส่งออกโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย
มูลค่าการส่งออกตั้งแต่ปี 2542 – 2547 มีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 3,000 ล้านบาท
ยกเว้นปี 2546 ส่วนในปี 2547
คาดว่าแนวโน้มการส่งออกแม่พิมพ์ของไทยจะมีมูลค่าสูงขึ้น
โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น มาเลเซียและฮ่องกง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น