“องค์กร” เป็นศัพท์บัญญัติที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า
“Organ” หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่
ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกันและกัน (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๒๕)
“องค์การ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Organization”
หมายถึง ศูนย์กลางของกิจการที่รวมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย
หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ หลายๆ “องค์กร” รวมกันเข้ามา จะกลายเป็น “องค์การ” ทันที
เพราะฉะนั้น
การที่หลายคนมารวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วทำภารกิจอะไรสักอย่างร่วมกัน
ยังไม่ถือว่าเป็นองค์กร เพราะ “องค์กร” จะต้องเป็นส่วนย่อยของ “องค์การ”
และมีหน้าที่เฉพาะของตน
“องค์การ” มีหน้าที่เอา “องค์กร” ต่างๆ
ที่มีหน้าที่แตกต่างกันนั้นมารวมเข้าด้วยกัน
และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆ
ให้สามารถดำเนินงานตามหน้าที่ร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบ คล้ายๆ
กับเครื่องจักรนาฬิกาแต่ละชิ้นที่มีหน้าที่ต่างๆ เหมือนกับ “องค์กร” และเมื่อนำเอาเครื่องจักรแต่ละชิ้นมาประกอบกัน
มันก็จะทำให้นาฬิกานั้นเดินไปได้อย่างมีระเบียบเป็น “องค์การ”
และหน่วยงานที่จะถือว่าเป็น “องค์การ” ได้
จะต้องมีการจัดระเบียบงานถูกต้องตามกระบวนการดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น
1.องค์การทางสังคม ครอบครัว
สถาบันการศึกษาทุกระดับ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันศาสนา วัด
ศูนย์ปฏิบัติธรรม สถาบัน กลุ่ม ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ
ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการเฉพาะอย่างแต่มุ่งประโยชน์ในระดับสังคม
2.องค์การทางราชการ ทุกระบบที่เป็นส่วนราชการ ระดับกระทรวง ทบวง กรม
3.องค์การเอกชน เช่น บริษัทห้างร้านที่ตั้งขึ้นมาด้วยรูปแบบต่างๆ
เพื่อมุ่งหากำไรเป็นสำคัญ ลักษณะขององค์การทางธุรกิจนั้น แบ่งได้เป็น
3.1 องค์การที่มีเจ้าของคนเดียวจัดระบบการทำงานโดยมีลูกน้องมาร่วมมือกันทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ
และในปัจจุบันธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวแพร่หลายมากขึ้นเนื่องจากมีช่องทางการตลาดแบบออนไลน์
3.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ผู้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในองค์การประเภทนี้จะต้องร่วมรับผิดชอบในองค์การร่วมกันในทุกเรื่องทั้งทรัพย์สินและหนี้สิน
3.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
องค์การธุรกิจประเภทนี้มีความต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญตรงที่
เฉพาะหุ้นส่วนเฉพาะบางคนเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบไม่จำกัด
ผู้ถือหุ้นนอกนั้นรับผิดชอบ “จำกัด” ตามจำนวนหุ้นที่ตัวเองถือครอง
3.4 บริษัทจำกัด เป็นองค์การทางธุรกิจ ที่จัดตั้งขึ้น แล้วแบ่งทุนเป็นหุ้น ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินหุ้นที่ตนถือเท่านั้น
ซึ่งทุกวันนี้มีการนำคำว่า “องค์กร”
ไปใช้ในความหมายของ “องค์การ” อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น บริษัท โรงงาน สำนักงาน
ส่วนราชการ มูลนิธิ วัด ฯลฯ แต่ความจริงตามแนวความคิดทางวิชาการ
โดยเฉพาะทางสังคมวิทยา องค์การจะมีความหมายที่กว้างกว่านั้น
แต่ในด้านสังคมวิทยาถือว่า องค์การมีอยู่ 2 ระดับคือ
- ระดับต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (primary organization) หมายถึง
องค์การที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติสมาชิกทุกคนต้องเกี่ยวข้องกันมาแต่กำเนิด
มีกิจกรรมรวมเฉพาะกลุ่มติดต่อด้วยการส่วนตัว เช่น ครบครัว ศาสนา หมู่บ้าน
เป็นต้น
- ระดับสองหรือองค์การทุติยภูมิ (secondary organization) หมายถึง
องค์การที่มนุษย์ตั้งขั้น สมาชิกมีความสัมพันธ์กันด้วนเหตุผล
และความรู้สึกสำนึกอย่างเป็นทางการ
ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การไม่เป็นแบบส่วนตัว เช่น หน่วยงานราชการ
ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม โรงเรียน สโมสร โรงพยาบาล เป็นต้น
องค์การระดับต้นเกิดขึ้นในสังคมโดยอัตโนมัติ
เช่นครอบครัว ประชาคม กล่มมิตรสหาย เครือญาติ ฯลฯ
ซึ่งมีแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกแบบส่วนตัว หรือไม่เป็นทางการ (informal
หรือ personal) ใครที่ไม่คุ้นกับแนวความคิดสังคมวิทยา
ก็จะไม่เรียกสถาบันเหล่านี้ว่าเป็น “องค์การ”
เพราะเข้าใจหรือรู้จักองค์การในความหมายขององค์การระดับสองเท่านั้น
หากมองจากมุมของประวัติศาสตร์ สถาบันสังคมโบราณอาจจะมีแต่สังคมชั้นต้นเป็นส่วนใหญ่ ตามข้อเท็จจริงแล้ว หากไม่นับวิวัฒนาการขององค์การในกองทัพ องค์การระดับสองโดยเฉพาะองค์การธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมที่แยกตัวออกไปจากธุรกิจครอบครัวเกิดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน หลังจากสังคมนั้นๆ มีการปฏิวัติหรือพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มขึ้นในสังคมสมัยใหม่ หรือในศตวรรษที่ 18 นี้เอง และต้องตามให้ทันด้วยว่า องค์การสมัยใหม่มีองค์ประกอบมากกว่ากลุ่มคนที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน เพราะยังมีองค์ประกอบอื่น เช่น เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี ฯลฯ จะเห็นได้ว่า หากเราจะพูดหรือเขียนภาษาไทยถึงคำว่า “organization” เราต้องพูดและเขียน “องค์การ” ไม่ใช่ “องค์กร” ถ้าอุปมาอุปมัยเป็นตัวบุคคล องค์การเปรียบเสมือนผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว ส่วนองค์กรยังเป็นเสมือนผู้เยาว์ หรือผู้ที่ต้องอยู่ในอุปการะ (dependent) หรือถ้าพูดถึงสถานภาพตามกฎหมาย องค์การน่าจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนองค์กรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การนั้น ยังต้องขึ้นอยู่กับองค์การในรูปใดรูปหนึ่ง
รูปภาพจาก : http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th
- ที่่มา http://www.pleplejung.com/2015/03/organ-or-organization/
- ที่มา https://www.im2market.com/2016/05/16/3261